การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง เพื่อการขนส่ง

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตรายหรือเคมีภัณฑ์รุนแรง ต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าอันตรายแต่ละชนิดผ่านการทดสอบพร้อมได้รับ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ UN Mark
เรามาทำความรู้จักและข้อควรทราบต่างๆสำหรับการเลือกบรรจุกภัณฑ์สำหรับส่งออกสินค้าอันตราย เคมีภัณฑ์รุนแรงมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ UN Mark สัญลักษณ์มาตรฐานบรรจุภัณฑ์สำหรับส่งออกสินค้าอันตราย เคมีภัณฑ์รุนแรง ตามข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสิ่งของอันตราย (United Nations Recommendations on the Transport of Dangerous Goods)

ทำความรู้จัก UN Mark

UN Mark หรือ สัญลักษณ์ UN เป็นเครื่องยืนยันว่าบรรจุภัณฑ์ได้รับการทดสอบ ตามบทบัญญัติของประมวลข้อบังคับ

ว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำ (IMDG Code)
และข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสิ่งของอันตราย (United Nations Recommendations on the Transport of Dangerous Goods)

  • ผ่านการทดสอบกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • มีหนังสือรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบรรจุภัณฑ์สินค้าอันตรายตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ

วิธีทดสอบ การรับรองบรรจุภัณฑ์ UN

การรับรองบรรจุภัณฑ์ UN ต้องทดสอบอะไรบ้าง สำหรับการทดสอบมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ของ UN สำหรับการขนส่งสินค้าอันตรายแต่ละประเภท ซึ่งจะผ่านการทดสอบดังนี้

  1. ทดสอบความทนทานการตกกระแทก (Drop test)
  2. ทดสอบความทนทานการเรียงซ้อน (Stacking Test)
  3. ทดสอบคุณสมบัติป้องกันการรั่วซึม (Leakproofness)
  4. ทดสอบความต้านทานความดันภายใน (Internal Pressure Test)

วิธีการเลือกบรรจุภัณฑ์ UN

เลือกบรรจุภัณฑ์ UN ให้เหมาะสมได้อย่างไร ? สำหรับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับบรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง การขนส่งสินค้าอันตราย สามารถดูหลักการเลือกบรรจุภัณฑ์ได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS หรือ Safty Data Sheet) โดยดูข้อมูลพื้นฐานดังนี้

  1. เลขอ้างอิง 4 หลัก แสดงสมบัติของสารอันตรายตามข้อกำหนด UN (UN number)
  2. ชื่อที่ถูกต้องของการขนส่งสินค้าอันตราย (Proper Shipping Name)
  3. คุณสมบัติทางเคมี สถานะทางกายภาพ ค่าความดันไอ และความหนาแน่นสัมพัทธ์
  4. กลุ่มการบรรจุ (Packing Group)

จำแนกตามความอันตรายของสาร เพื่อดูกลุ่มการบรรจุได้ดังนี้

ระดับความเป็นอันตราย

  • I อันตรายมาก
  • II อันตรายปานกลาง
  • III อันตรายน้อย

ตัวอักษรแสดงกลุ่มการบรรจุ

  • X สำหรับกลุ่มการบรรจุ I, II และ III
  • Y สำหรับกลุ่มการบรรจุ II และ III
  • Z สำหรับกลุ่มการบรรจุ III
error: Content is protected !!