Plastic Packaging Solution. Starting with selection of high quality raw materials, professional management teams and staffs with experience in the plastic industry. We have gained trust and acceptance through various business sectors.

  • Knowledge
  • Recycle กับกระบวนการที่คุณไม่เคยรู้

Recycle กับกระบวนการที่คุณไม่เคยรู้

Recycle กับกระบวนการที่คุณไม่เคยรู้

การรีไซเคิล (Recycle) เป็นหนึ่งในวิธีรักษาสิ่งแวดล้อมที่หลายคนรู้จัก เพราะกระบวนการรีไซเคิลพลาสติกนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานเพื่อการเผาขยะพลาสติก แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากเท่าที่ควร

โดยกลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ได้สำรวจพบว่า มีปริมาณพลาสติกเพียงร้อยละ 9 จากทั่วโลก ที่ถูกนําไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล และปริมาณของพลาสติกที่ถูกรีไซเคิลให้กลับไปอยู่ในรูปของบรรจุภัณฑ์ (Upcycling) มีน้อยมาก ดังนั้นหากเราเข้าใจกระบวนการรีไซเคิล เราก็จะสามารถเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

การรีไซเคิลพลาสติกมีกระบวนการยังไง

การรีไซเคิลพลาสติกมีกระบวนการยังไง?

การรีไซเคิลผลิตภัณฑ์พลาสติก มีมากมายหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและนิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันมีกระบวนการดังนี้

1.คัดแยกและทำความสะอาด

เริ่มจากการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติก เข้าสู่กระบวนการคัดแยกและทำความสะอาดด้วยน้ำจำนวนมากทำการล้างและคัดแยกเพื่อแยกพลาสติกฝาออกจากพลาสติกขวดด้วยการลอยในอ่างน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งขั้นตอนนี้เราจะต้องคัดแยกตั้งแต่ ประเภทของพลาสติก ยกตัวอย่างเช่น

ขวดน้ำ ตัวขวดจะเป็นพลาสติก PET ในขณะที่ฝาขวดอาจผลิตจากพลาสติก HDPE หรือ พลาสติก PP ซึ่งจะพลาสติกแต่ละประเภทจะมีความหนาแน่นต่างกัน การนำมาลอยในอ่างน้ำจะมีพลาสติกบางประเภทที่จมน้ำ บางประเภทที่ลอยน้ำ ทำให้การคัดแยกทำได้ง่ายขึ้น และในการทำความสะอาดสำหรับพลาสติก PET ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่จำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนการกำจัดเชื้อโรคอีกหลายครั้ง

2.บดให้เป็นเกล็ดพลาสติก

กระบวนถัดมา คือการนำพลาสติกไปบดเพื่อทำให้เป็น “เกล็ดพลาสติก” ชิ้นเล็กๆ หรือเรียกว่า สแครป (Scrap) เพื่อง่ายต่อการหลอมพลาสติก ซึ่งหลังจากการบดพลาสติกแล้ว ในพลาสติกบางประเภทจะมีการนำไปล้างาทำความสะอาดซ้ำอีกหลายครั้งแล้วตากให้แห้งก่อนนำเข้าสู่กระบวนการถัดไป

3.แปรรูปพลาสติก

ขั้นตอนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 แบบตาม ได้แก่

  1. หลอมให้เป็นเมล็ดพลาสติก นำเกร็ดพลาสติกที่ได้ไปหลอมเป็นเม็ดพลาสติกเกรดสองหรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิลเพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต กระบวนการนี้สามารถแปรรูปได้เฉพาะพลาสติกที่ไม่ทนความร้อน อาทิเช่น PET, PE เป็นต้น โดยขั้นตอนนี้ต้องใช้ความร้อนสูงถึง 285-300 องศาเซลเซียส เพื่อหลอมเกล็ดพลาสติกให้เป็นเม็ดพลาสติก ก่อนจะถูกส่งไปที่โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป แต่ในประเทศไทย กฎหมายไทยยังห้ามไม่ให้นำพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่กับบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหาร ซึ่งข้อห้ามนี้ครอบคลุมถึงเม็ดพลาสติก รีไซเคิลที่ผ่านการกระบวนการรีไซเคิล หรือ rPET ทำให้โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ยังจำเป็นจะต้องใช้เม็ดพลาสติกใหม่เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก PET สำหรับบรรจุอาหารเท่านั้น
  2. สลายตัวด้วยความร้อน กระบวนการนี้สามารถรีไซเคิลพลาสติกทุกชนิดได้ โดยจะใช้ความร้อนแปรรูปขยะพลาสติกกลับสู่รูปของน้ำมันปิโตรเลียม แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
  3. กระบวนการอื่นๆ กระบวนการนี้คือการแปรสภาพพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น บดและอัดขยะพลาสติกให้เป็นแผ่นปูทางเท้า หรือนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าในกระบวนการทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าในกระบวนการทั้งหมดนี้ ใช้พลังงานและทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตพลาสติกใหม่ ดังนั้นควรเน้นเรื่องการคัดแยกให้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้มากที่สุดของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดทรัพยากรหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้นการคัดแยกขยะก่อนทิ้งของผู้บริโภค หรือการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้มากที่สุดของผู้ประกอบการ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้

error: Content is protected !!