ปัจจุบันมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อห่อหุ้มและรักษาคุณภาพของอาหารเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีการออกแบบรูปร่างที่หลากหลายและมีสีสันที่สวยงาม ทั้งนี้พลาสติกนั้นมีหลากหลายชนิด มีทั้งชนิดที่ปลอดภัยสำหรับบรรจุอาหาร และพลาสติกที่เป็นอันตรายหากสัมผัสกับอาหาร รวมถึงพลาสติกรีไซเคิล วัตถุดิบที่เป็นอันตรายสามารถก่อให้เกิดสารปนเปื้อนในอาหารได้และส่งผลต่อร่างกายเมื่อได้รับการสะสมในปริมาณมาก เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ควรเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหารที่ผ่านการทดสอบ และได้ใบรับรองว่าสามารถบรรจุอาหารได้
ประเทศไทยรับรองโดยกระทรวงสาธารณะสุข ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชนภายในประเทศ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร จึงออกระเบียบข้อบังคับ เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทําจากพลาสติก ฉบับที่ 295 ซึ่งกำหนดให้ภาชนะบรรจุที่ผลิตจากพลาสติกต้องมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในการเลือกสินค้า บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหาร สามารถเลือกตามเกณฑ์ง่ายๆ 4 ข้อได้ดังนี้
1. เลือกสินค้าที่มีการรับรอง 295 จากกระทรวงสาธารณสุข
สินค้าพลาสติกที่ได้รับการรองรับจากกระทรวงสาธารณสุข ต้องมี ใบรับรองเลขที่ 295 กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทําจากพลาสติก จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อยืนยันว่าสามารถใช้กับอาหารได้อย่างปลอดภัย ไม่พบสารอันตรายต่างๆ เช่น
- ปลอดเชื้อแบคทีเรีย E-coli ที่ทำให้เกิดอาหารท้องเสีย ท้องร่วง และโรคต่างๆ ในระบบทางเดินอาหาร
- ไม่พบสารโลหะหนัก สารหนู สารพิษตกข้าง และสารอันตรายต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง และโรคต่างๆ
2. เลือกพลาสติกเกรด A (non-recycle)
พลาสติกเป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้หลายรอบ ซึ่งคุณภาพของพลาสติกก็จะตกลงไปตามเกรดพลาสติกหลังรีไซเคิล พลาสติกรีไซเคิลไม่เหมาะสมสำหรับการบรรจุอาหารเพราะอาจมีสารปนเปื้อนต่างๆที่ควบคุมได้ยาก
- สังเกตเนื้อพลาสติกรีไซเคิลได้จากสีของผลิตภัณฑ์หากเป็นสีตุ่นหรือสีหม่น ก็อาจเป็นสีของพลาสติกรีไซเคิลได้ ทางลูกค้าควรขอเอกสาร ใบรับรอง 295 กับแหล่งจำหน่ายเพื่อความแน่ใจ
- สังเกตกลิ่นของพลาสติก ถ้ามีกลิ่นแรงหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็อาจเป็นพลาสติกเกรด B หรือเกรดรีไซเคิลได้ ซึ่งไม่เหมาะกับการบรรจุอาหาร
3. หลีกเลี่ยงพลาสติกมีสีที่ดูไม่น่าเชื่อถือ
การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป ซึ่งอาจมีส่วนผสมของตะกั่วและแคดเมียม สารทั้งสองตัวนี้สามารถแพร่ออกมาจากพลาสติกได้ หากต้องการเลือกใช้พลาสติกมีสีสำหรับบรรจุอาหารทางลูกค้าควรขอเอกสารใบรับรอง 295 กับแหล่งจำหน่ายเพื่อความแน่ใจ
4. เลือกซื้อพลาสติกจากผู้ขายที่เชื่อถือได้
สุดท้ายแล้วเมื่อเราเลือกซื้อสินค้า ควรเลือกซื้อจากแหล่งผู้ขายที่เชื่อถือได้ บอกข้อมูลสินค้าตามความเป็นจริง มีจรรยาบรรณ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค และมีเอกสารรับรองยืนยัน หรือ มีฐานผลิตเองสามารถเข้าตรวจสอบได้ พร้อมมีเอกสารยืนยันคุณภาพสินค้าและใบรับรองมาตรฐาน
ทั้งนี้การใช้พลาสติกควรเลือกให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนั้นๆ ถึงแม้ว่าภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ออกมา หากแต่ผู้บริโภคยังเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีสมบัติไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสได้รับสารอันตรายเพิ่มขึ้น
บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด ได้จดทะเบียนรูปแบบบริษัท ประกอบกิจการในวงการอุตสาหกรรมพลาสติกมากว่า 50 ปี
- ทั้งยังรองรับการบริหารองค์กรด้วยมาตรฐาน ISO9001:2015
- ผลิตสินค้าจากวัสดุ HDPE และ PP เม็ดใหม่ อย่างดี
- พร้อมมีใบรับรองเลขที่ 295 ว่าปลอดภัย สามารถใช้กับอาหาร ปราศจากสารหนูและสารอันตรายต่างๆ
หากทางลูกค้ามีข้อสงสัยการใช้งานผลิตภัณฑ์ สามารถติดต่อพนักงานเพื่อขอคำแนะนำได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @sangroonggroup
http://line.me/ti/p/~@sangroonggroup
อ้างอิงข้อมูล
ความปลอดภัยบรรจุภัณฑ์พลาสติกบรรจุอาหาร. ศิโรรัตน์ ตั้งสถิตพร. นักทดลองวิทยาศาสตร์บริการ. ห้องปฏิบัติการทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพของวัสดุ ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ
http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=3458
ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร. ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/86/ผลิตภัณฑ์พลาสติกกับอาหาร/
ใบรับรองเลขที่ 295 กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทําจากพลาสติก. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
https://is.gd/aCFhIE