• Knowledge
  • ถังพลาสติก กับ แกลลอนพลาสติก แตกต่างกันอย่างไร

ถังพลาสติก กับ แกลลอนพลาสติก แตกต่างกันอย่างไร

ถังพลาสติก กับ แกลลอนพลาสติก สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร นอกเหนือจากคำยามตามพจนานุกรมแล้ว ยังมีคำนิยมที่ชาวไทยเรียกใช้ รวมถึงคำเรียกโดยทั่วไปในโรงงานผลิตและกลุ่มอุตสาหกรรมอีกด้วย ทำให้หลายคนก็ยังสับสนในชื่อเรียกอยู่เสมอ เราจึงมาคุยกันว่าระหว่าง ถังพลาสติก กับ แกลลอนพลาสติก ที่ใช้ในอุตสาหกรรมใช้คำเรียกแตกต่างกันอย่างไร

ถังพลาสติก กับ แกลลอนพลาสติก แตกต่างกันอย่างไร

ถังพลาสติก ( Plastic Drum / Tank / Jerrican )

ถังพลาสติก ( Plastic Drum / Tank / Jerrican ) เป็นภาชนะทรงกระบอก หรือทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับบรรจุของเหลวในปริมาณตั้งแต่ 7.5 ลิตรไปจนถึง 200 ลิตรขึ้นไป สำหรับ ถังแบบเหลี่ยมมีหูจับ หรือ Jerrican นิยมใช้เรียกตั้งแต่ขนาด 20 ลิตรขึ้นไป ว่าถัง เนื่องจากต่างประเทศ นิยมเรียกแบบแกลลอน จนถึงขนาด 5 แกลลอน (ประมาณ 19 ลิตร) ตัวถังนิยมผลิตจากพลาสติกแข็ง HDPE – พลาสติกโพลิเอทิลีน ความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene: HDPE) ที่มีความหนา แข็งแรงทนทาน ไม่แตกหักง่าย และรับน้ำหนักได้ดี ตัวถังมีทั้งแบบทึบสีน้ำเงินและสีขาว และแบบสีขาวขุ่นที่สามารถมองเห็นของเหลวภายในถังได้เล็กน้อย ฝาถังมีทั้งแบบที่เป็นฝากกว้างเท่าขนาดตัวถัง มีฝาปิดแยกต่างหากโดยมีเข็มขัดอลูมิเนียมเป็นตัวช่วยล็อคให้ปิดสนิท หรือแบบฝาเกลียวสำหรับเปิดปิดขนาดใหญ่ ในถังขนาดไม่ใหญ่มากมักจะมีหูจับในตัว ใช้สำหรับหิ้วหรือยกเท แต่สำหรับถังขนาดใหญ่ ตั้งแต่ขนาด 120 ลิตรขึ้นไป ไม่สามารถยกด้วยกำลังคนได้ จึงไม่จำเป็นต้องทำช่องหูจับ เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์เคลื่อนย้าย ช่วยขนย้ายเท่านั้น

ตัวอย่าง – อุปกรณ์เคลื่อย้ายถังขนาดใหญ่

อุปกรณ์เคลื่อนย้ายถัง 200 ลิตร

โรงงานผลิตถัง 200 ลิตร โดยทั่วไป จะผลิตถังขนาดใหญ่เหล่านี้ ด้วยพลาสติก แบบ 1 ชั้น ยกเว้น เทคโนโลยีใหม่ที่ แสงรุ่งกรุ๊ป นำเข้ามาใช้ในการผลิตถัง แบบ 2 ชั้น หรือ Co-extrusion โดยมีการผลิตพลาสติกชั้นในเป็นเม็ดพลาสติกสีขาวบริษัท (Virgin Resin) เพิ่มความปลอดภัยในการบรรจุอาหารและเคมี และ ใช้ผนังด้านนอกเป็นเม็ดพลาสติกผสมสีเพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์จากแสง (Masterbatch)

แกลลอนพลาสติก ( Plastic Gallon / Jerrican )

แกลลอนพลาสติก ( Plastic Gallon / Jerrican ) เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุของเหลวขนาดเล็ก คำว่าแกลลอน เป็นหน่วยวัดของเหลว ที่ต่างประเทศนิยมใช้เทียบเท่าประมาณ 3.8 ลิตร เนื่องจากนิยมใช้เป็น บรรจุภัณฑ์รูปทรงปิดทึบ ปากแคบ และ มีหูจับ (Jerrican) ชนิดบรรจุภัณฑ์แบบแข็ง HDPE ขนาดไม่เกิน 5 แกลลอน เมื่อการบรรจุดังกล่าวเผยแพร่มาใช้ประเทศไทย คนไทยจึงนิยมใช้เรียกบรรจุภัณฑ์ขนาดไม่เกิน 20 ลิตร ว่า แกลลอนพลาสติก มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรจุในปริมาณไม่มาก สามารถยกเทได้สะดวก ตัวแกลลอนพลาสติกผลิตจากพลาสติก HDPE – พลาสติกโพลิเอทิลีน ความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene: HDPE) จะมี 2 แบบ คือ แบบขาวขุ่น-ใสและแบบขาวขุ่น-ทึบ รูปทรงมีตั้งแต่ทรงกลมไปจนถึงทรงเหลี่ยม ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการ ตัวฝาปิดจะเป็นฝาเกลียวหมุนขนาดเล็ก มีทั้งแบบที่มีหูจับในตัวเพื่อความสะดวกในการขนย้ายและใช้งาน ปกติแล้วนิยมใช้บรรจุ น้ำมันเครื่อง น้ำมันพืช น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน แชมพู ซอสปรุงรส เครื่องดื่ม เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ถังพลาสติก และแกลลอนพลาสติก จะคล้ายคลึงกันมากแตกต่างกันเพียงขนาดและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ซึ่งแกลลอนพลาสติกเราจะพบได้ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กถึงขนาดกลางใช้บรรจุของเหลวต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ถังพลาสติกเรามักพบในอุตสาหกรรม หรือใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับของที่มีปริมาตรสูง ทำให้โรงงานผลิตถัง 200 ลิตรได้มีจำนวนน้อยกว่าโรงงานผลิตแกลลอนพลาสติกทั่วไป

ตัวอย่างแกลลอนพลาสติก

ตัวอย่างถัง 200 ลิตร แบบ Multilater HDPE

ตัวอย่างถัง 200 ลิตร แบบ Multilater HDPE
error: Content is protected !!