Plastic Packaging Solution. Starting with selection of high quality raw materials, professional management teams and staffs with experience in the plastic industry. We have gained trust and acceptance through various business sectors.

  • Knowledge
  • การเลือกขวดน้ำอย่างปลอดภัย ขวด PET อันตรายหรือไม่

การเลือกขวดน้ำอย่างปลอดภัย ขวด PET อันตรายหรือไม่

การเลือกขวดน้ำอย่างปลอดภัย ขวด PET อันตรายหรือไม่

ขวดน้ำหรือบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราส่วนใหญ่เป็นขวด PET เพราะด้วยคุณสมบัติและความหลากหลายของรูปทรง จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายคนเลือกใช้ขวด PET และมีโรงงานผลิตขวดพลาสติกมากมายที่รับผลิตขวดพลาสติก PET แต่ในความนิยมเหล่านั้น เรามักได้ยินข่าวลือที่ส่งเข้ามาตามสื่อออนไลน์เกี่ยวกับอันตรายจากขวด PET ว่ามีสารก่อมะเร็ง หรือทิ้งไว้ในรถแล้วจะเกิดสารอันตรายต่างๆ ซึ่งแท้จริงแล้วขวด PET มีอันตรายอย่างที่เล่าลือกันหรือไม่ เราจึงมาไขข้อข้องใจให้คุณในวันนี้

ทำความรู้จักกับขวด PET

ขวด PET หรือที่บางคนเรียกว่า ขวดเพ็ท เป็นขวดน้ำพลาสติกที่ผลิตจากพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate: PET) คำว่า PET ไม่ใช่ชื่อขวดแต่เป็นชื่อพลาสติกที่ใช้ผลิตขวด

คุณสมบัติของขวด PET

พลาสติก PET เป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา มีความเหนียว ทนทานต่อแรงกระแทกสูง ขึ้นรูปทรงได้หลากหลาย มีต้นทุนต่ำ นำกลับมารีไซเคิลได้ และที่สำคัญเนื้อพลาสติกที่ใส ของบรรจุภัณฑ์ ช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ ด้านความสะอาด และความสวยงามของผลิตภัณฑ์ภายใน จึงได้รับความนิยมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและยา เพราะเป็นพลาสติกใสที่มีความปลอดภัยในการใช้งาน จึงทำให้ขวด PET ได้รับความนิยมนำมาทดแทนขวดแก้วกันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นอุตสาหกรรมรับผลิตขวดพลาสติก PET เลยทีเดียว

แม้ว่าขวด PET จะสามารถเติมสีที่ปลอดภัยต่อการบรรจุอาหารให้บรรจุภัณฑ์ได้ แต่ในวงการสิ่งแวดล้อมก็มีการเรียกร้องให้ใช้แบบใส เพราะง่ายต่อการคัดแยกเพื่อ Recycle เช่น ขวดเครื่องดื่มสไปรท์ มีการเปลี่ยนจากขวดสีเขียวเป็นขวดสีใสเหมือนยี่ห้ออื่นๆ

ดื่มน้ำในขวด PET ที่ตากแดดในรถ เสี่ยงเป็นมะเร็ง จริงหรือ

ดื่มน้ำในขวด PET ที่ตากแดดในรถ เสี่ยงเป็นมะเร็ง จริงหรือ?

เป็นข่าวลือที่ถูกแชร์บ่อยมากข่าวหนึ่ง ว่า การดื่มน้ำในขวด PET ที่ตากแดดในรถ จะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็ง เพราะมีสารก่อมะเร็งละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ได้ทำการทดลองและนำน้ำมาตรวจสอบปรากฏว่าไม่พบสารก่อมะเร็ง อีกทั้งภาชนะพลาสติกส่วนใหญ่ที่ หากถูกความร้อนจากแสงแดดมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะมีการละลายหรือปนเปื้อนสารก่อมะเร็งออกมา

นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของขวดน้ำดื่ม ว่าต้องผลิตจากพลาสติก PET ที่ทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 60-95 องศาเซลเซียส และยังปราศจากสารก่อมะเร็ง แต่ควรระมัดระวังการนำขวด PET กลับมาใช้ซ้ำเนื่องจากหลังเปิดฝาขวดน้ำอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคปะปนเข้ามาอยู่ในน้ำดื่มที่ยังดื่มไม่หมด ซึ่งอาจก่ออันตรายต่อร่างกายได้

ขวด PET ปลอดภัยจริงหรือไม่

ขวด PET ปลอดภัยจริงหรือไม่?

หลายคนอาจยังกังวลใจกับการใช้ขวดน้ำพลาสติกว่า อาจจะมีสารบางอย่างในพลาสติกที่ละลายออกมาปนเปื้อน ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างสถาบันชั้นนำทั่วโลกที่มีการยืนยันความปลอดภัยของขวด พลาสติก PET เป็นเนื้อพลาสติกใสที่ปลอดภัยต่อการบรรจุอาหาร โดยไม่ต้องเติมสารเพิ่มความใส เหมือนพลาสติกอื่นๆ ทำให้ปลอดสาร BPA ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งได้ เช่น

  • องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US FDA) ที่ออกมายืนยันความปลอดภัยในการใช้ขวด PET บรรจุอาหารและเครื่องดื่ม
  • องค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Authority) ประเทศนิวซีแลนด์ ได้ยืนยันว่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขวด PET ไม่มีสาร DEHA (Diethyl Hydroxylamine) ที่เป็นสารก่อมะเร็งอยู่ในสารประกอบของ PET
  • สถาบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (Institutional Life Science Institute) ได้มีผลการศึกษาออกมาว่า ระดับความเป็นไปได้ที่สารปนเปื้อนจะแพร่ออกจากขวด PET นั้นต่ำกว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้ และปริมาณของสารปนเปื้อนที่ตรวจพบก็ต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดผลทางพิษวิทยาได้

ซึ่งนอกจากจะได้รับการยืนยันเรื่องความปลอดภัยแล้ว การเลือกโรงงานรับผลิตขวดพลาสติก PET ที่ได้มาตรฐาน ก็เป็นอีกหนึ่งการยืนยันความปลอดภัยในขวด PET เช่นกัน

แม้ว่า ขวด PET จะได้รับการยอมรับว่า เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามตัวขวด PET ส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาจากโรงงานที่รับผลิตขวดพลาสติก PET มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้แล้วครั้งเดียวเท่านั้น การนำกลับมาใช้ซ้ำ จำเป็นต้องล้างให้สะอาด ตากให้แห้งสนิทก่อนใช้ เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่ในขวดและน้ำได้

error: Content is protected !!