ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร พลาสติกเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์มากที่สุด เพราะนอกจากจะต้นทุนต่ำแล้ว ยังมีความสวยงาม สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบตอบสนองความต้องการใช้งานได้ไม่รู้จบ ซึ่งพลาสติกแต่ละประเภทก็ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกัน เราจึงควรทำความรู้จัก ประเภทของพลาสติก และสัญลักษณ์รีไซเคิล ที่มักพบได้บนบรรจุภัณฑ์ ที่มาจากโรงงานพลาสติก เพื่อที่จะได้เลือกให้ตรงความต้องการของเรา
7 ประเภทของพลาสติกและสัญลักษณ์รีไซเคิล ประกอบด้วย
1. PET – โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate: PET)
พลาสติก PET เป็นพลาสติกยอดนิยมที่พบแทบจะทุกโรงงานพลาสติกที่รับผลิตขวดพลาสติก มีจุดเด่นตรงที่ มีความใสและเหนียวสูง สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ ก๊าซ และไขมันได้ดี นิยมนำมาผลิตเป็นขวดพลาสติกใส (หรือที่เรียกว่า ขวด PET) เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำมันพืช ขวดใสบรรจุของเหลวต่างๆ เป็นต้น
สัญลักษณ์รีไซเคิล
2. PE – โพลีเอทิลีน (Polyethylene: PE)
PE เป็นพลาสติกที่มีลักษณะขุ่น ทนความร้อน สามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ
- HDPE (High Density Polyethylene) โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง เป็นพลาสติกที่มีเนื้อแข็ง เหนียว ทนต่อสารเคมี และกรด-ด่างได้ดี ป้องกันความชื้นได้สูง สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ตลอดอายุการใช้งาน นิยมใช้ HDPE ผลิตเป็นขวดแชมพู แกลลอนใส่น้ำยาต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก เป็นต้น
- LDPE (Low Density Polyethylene) โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ จะตรงกันข้ามกับ HDPE คือ มีเนื้อนิ่ม มีสีใส ไม่ทนความร้อน แต่เหนียวและมีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้ผลิตเป็นพลาสติกหูหิ้ว พลาสติกแรปห่ออาหาร เป็นต้น
สัญลักษณ์รีไซเคิล
3. PVC – โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC)
PVC มีคุณสมบัติที่โดดเด่น คือ เมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง ทนต่อน้ำ, น้ำมัน,กรด-ด่าง,แอลกอฮอล์ และสารเคมีต่างๆ ยกเว้นคลอรีน ทนต่อการขัดถู เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี แต่มีข้อเสียคือ มีความแข็งแต่เปราะและสลายตัวได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับความร้อน แสงแดด นิยมใช้ทำท่อ ข้อต่อ ฉนวนหุ้มสายไฟ สายเคเบิ้ล ซึ่งไม่สามารถผลิตในโรงงานพลาสติกทั่วไปได้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้พลาสติก PVC มีสารนิลคลอไรด์ตกค้างน้อยมาก จึงมักพบ PVC ถูกนำมาทำเป็นของเด็กเล่น แผ่นพลาสตติก PVC ต่างๆ มากขึ้น
สัญลักษณ์รีไซเคิล
4. LDPE – โพลีโพรพิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low-density polyethylene: LDPE)
LDPE หรือ พลาสติกความหนาแน่นต่ำ เป็นพลาสติกที่ขึ้นชื่อเรื่องความยืดหยุ่นทนต่อการฉีกขาดและสารเคมีได้เป็นอย่าง ดี ขึ้นรูปง่ายราคาถูก นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับขวดยาและขวดบีบ ฝาปิดและฝาปิด ถุงขยะ ฟิล์ม สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง
สัญลักษณ์รีไซเคิล
5. PP – โพลีโพรพิลีน (Polypropylene: PP)
PP หรือ พลาสติกแข็ง เป็นพลาสติกที่ไอน้ำสามารถซึมผ่านได้เล็กน้อย มีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทก น้ำมัน สารเคมี และทนร้อนได้ดี นิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่ทนร้อน เช่น จาน ชาม ขวดพลาสติก หลอดดูดพลาสติก ขวดบรรจุยา ถ้วยโยเกิร์ต ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยพลาสติก ฯลฯ PP เป็นพลาสติกอีกหนึ่งชนิดที่เราจะพบได้ในโรงงานพลาสติกส่วนใหญ่
สัญลักษณ์รีไซเคิล
6. PS – โพลีสไตรีน (Polystyrene: PS)
เป็นพลาสติกที่มีราคาถูก น้ำหนักเบา โปร่งแสง ขึ้นรูปได้ง่าย แต่ค่อนข้างเปราะแตกง่าย ทนต่อกรด-ด่าง และทนกับอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -10 °C ไปจนถึง 80 °C นิยมใช้ทำเป็นช้อนส้อมพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง ฝาแก้วกาแฟแบบใช้แล้วทิ้ง แต่มีข้อเสียใหญ่คือ ย่อยสลาย และรีไซเคิลได้ยาก
สัญลักษณ์รีไซเคิล
7. Other
หมายเลข 7 Other คือ พลาสติกประเภทใดก็ตามที่ไม่เข้าข่ายหนึ่งในหกประเภทแรกจะอยู่ภายใต้หัวข้อนี้ เนื่องจากการรีไซเคิลพลาสติกประเภทนี้เป็นไปได้ยากเพราะเป็นพลาสติกที่มีเนื้อแข็ง และอันตรายในการนำไปใช้ใหม่ นิยมใช้ผลิต ขวดนม ชิ้นส่วนรถยนต์ กระจก กรอบแว่น หรือ กรอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
สัญลักษณ์รีไซเคิล