• เกร็ดความรู้
  • นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่ทุกคนเริ่มตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตมนุษย์ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมถึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในวงกว้าง ทำให้หลายภาคส่วนหันมาให้ความสำคัญต่อสร้างบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อง่ายต่อการนำกลับมารีไซเคิล โดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ อีกทั้งเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยั่งยืนให้ทุกส่วนมากขึ้น

บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลก คืออะไร เหตุผลทำไมต้องใช้ ?

บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมระยะยาว โดยเป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะเด่นคือย่อยสลายได้ นำไปรีไซเคิลได้ รวมถึงเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัสดุจากธรรมชาติ เป็นต้น ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ได้รับความสนใจ และเริ่มมีการใช้จริงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหันมาให้ความสำคัญต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอีกหลายข้อที่ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ ดังนี้

  • ช่วยเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้แบรนด์ต่าง ๆ มากขึ้น
  • เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ยั่งยืนและตอบโจทย์ผู้บริโภค
  • ช่วยลดปัญหาและภาระต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบนิเวศทั้งหมด
  • ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคจากความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อการใช้งานสูงขึ้น
  • ทำให้แบรนด์ได้รับเป็นที่ยอมรับในสายตาผู้บริโภคด้วยมองว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม จนเกิดความภักดีในระยะยาว

นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกมีหลายรูปแบบ จากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและข้อดีแตกต่างกันไปดังนี้

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)

พลาสติกชีวภาพ หรือ ไบโอพลาสติก คือ พลาสติกที่มีส่วนผสมหลักจากส่วนต่าง ๆ ของพืช หรือเป็นพลาสติกที่ทำมาจากพืชโดยตรง เช่น อ้อย มันสำปะหลัง หรือข้าวโพด เป็นต้น มีคุณสมบัติน่าสนใจคือสามารถสลายตัวได้จากกระบวนการทางเคมี ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย หรือหลักการทางชีวภาพอื่น ๆ ตามธรรมชาติ เช่น น้ำ แสง หรือคาร์บอนไดออกไซด์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

พลาสติกสลายตัวได้ (Compostable plastic)

พลาสติกที่ย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน เปลี่ยนสภาพให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารอื่น ๆ ที่แตกละเอียด พลาสติกไม่แตกเป็นชิ้น ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เลย และไม่เป็นพิษต่อการสลายตัวแล้ว เช่น

  1. Polylactic Acid (PLA): พลาสติกจากแป้งข้าวโพดหรืออ้อย เช่น ถุงพลาสติก และภาชนะใช้แล้วทิ้ง
  2. Polyhydroxyalkanoates (PHA): ผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียที่กินน้ำตาลและไขมัน เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไฟเบอร์ และไหมละลาย ฯลฯ
  3. พลาสติกจากแป้ง (Starch-based Plastics): บรรจุภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลังหรือแป้งข้าวโพด เช่น ถุงพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์หลวม

พลาสติกแตกสลายทางชีวภาพได้ (biodegradable plastic)

พลาสติกที่เกิดจากการย่อยสลายโดยใช้ Micro-organisms และ Enzymes เช่น เชื้อรา หรือแบคทีเรีย ฯลฯ โดยไม่ได้มีการควบคุมภาพแวดล้อมในการย่อยสลาย ซึ่งการย่อยสลายของพลาสติกเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีในธรรมชาติ เช่น แบคทีเรีย รา สาหร่าย โดยจะต้องมีสภาวะที่เหมาะสม เช่น มีน้ำ และออกซิเจนเข้ามาช่วยในการย่อยสลาย สามารถนำมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์เหมือนกับพลาสติกสลายตัวได้ (Compostable plastic) และ

  1. Polybutylene Succinate (PBS): เป็นพลาสติกชีวภาพที่ได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรอย่าง อ้อย ข้าวสาลี มันสำปะหลัง เช่น ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร หรือบรรจุภัณฑ์อาหาร ฯลฯ

พลาสติกรีไซเคิล (Recycle Plastics)

พลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ทดแทนการสร้างใหม่ตั้งแต่ต้นได้ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการสูญหายของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้และเหล็กได้ดี เนื่องจากมีราคาถูก น้ำหนักเบาสามารถนำมาใช้ผลิตให้มีรูปทรงและมีสีสันได้ตามความต้องการ จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้มีบรรจุภัณฑ์หลากหลายรูปแบบและสีสันน่าใช้มากมาย จนเกิดปัญหาขยะตามมา จึงเกิดแนวคิดสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ โดยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดเกิดขึ้น ซึ่งพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้มีทั้งหมด 7 ประเภทด้วยกันดังนี้

PETE (Polyethylene Terephthalate)

พลาสติกโพลิเมอร์ใส เนื้อเหนียว นิยมใช้ผลิตเป็นขวดน้ำดื่ม ขวดใส่สบู่ โลชั่น แชมพู ฯลฯ โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม หรือใยสังเคราะห์ในหมอน ฯลฯ

HDPE (High-Density Polyethylene)

มีคุณสมบัติแข็งแรง ทนกรดและด่าง มีจุดหลอมเหลวไม่สูง มีความหนาแน่นสูง โปร่งแสงน้อยกว่า LDPE (Low-Density Polyethylene) โดยมีต้นทุนในการผลิตต่ำ บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด และบริษัทอื่น ๆ นิยมใช้ผลิตเป็นขวดแชมพู โลชั่น หรือขวดใส่น้ำยาต่าง ๆ โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่อง หรือลังพลาสติก ฯลฯ ได้

PVC (Polyvinyl Chloride)

พลาสติกใสมีคุณสมบัติเด่นคือความแข็งแรง ป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี เช่น ท่อน้ำประปา ฉนวนหุ้มสายไฟ สายยางใส แผ่นปิดยาทาภายนอก แผ่นปิดครีมบำรุงผิว รวมถึงแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ฯลฯ โดยสามารถรีไซเคิลกลับมาเป็นท่อน้ำ กรวยจราจร หรือม้านั่งพลาสติก เป็นต้น

LDPE (Low-Density Polyethylene)

พลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำ นิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก โปร่งแสง ไม่ทนต่อความร้อน นิยมใช้ผลิตเป็นถุงเย็นสำหรับใส่อาหาร ฟิล์มห่ออาหาร โดยหลังรีไซเคิลสามารถนำกลับมาผลิตเป็นถุงดำใส่ขยะได้

PP (Polypropylene)

พลาสติกชนิดนี้มีคุณสมบัติคือ ทนความร้อนและคงรูปได้ดี เหนียว มีความใส อีกทั้งยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด และบริษัทอื่น ๆ จึงนิยมใช้ผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร เช่น จาน ชาม ถ้วยโยเกิร์ต ขวดซอส ขวดยาเม็ด ถุงร้อน หลอดและกล่องต่าง ๆ โดยสามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องบรรจุแบตเตอรี่รถยนต์ กันชนรถ ไฟท้ายรถยนต์ กระถางต้นไม้พลาสติก หรือไม้กวาดพลาสติก เป็นต้น

PS (Polystyrene)

มีคุณสมบัติโปร่งแสง เปราะและแตกหักได้ง่าย แต่ทนต่อกรดและด่าง จึงนิยมใช้เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม มีด ช้อน ส้อมพลาสติก โดยสามารถนำมารีไซเคิลเป็น ไม้แขวนเสื้อ ถาดใส่ไข่ไก่ ไม้บรรทัด รวมถึงแผงสวิตช์ไฟ เป็นต้น

พลาสติกชนิดอื่น (Other)

เป็นกลุ่มพลาสติกที่ไม่มีการระบุชื่อเฉพาะเจาะจง แต่เป็นพลาสติกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 6 ชนิดแรก แต่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น PC (Polycarbonate) ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ไวต่อความชื้นและมีปฏิกิริยา Hydrolysis มีการหดตัวและโก่งต่ำ หรือพลาสติก Food Grade บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด และบริษัทอื่น ๆ นิยมนำมาใช้เป็นกระเป๋าเดินทาง แผ่น Blu-Ray หรือฝาครอบไฟรถ เป็นต้น

mono material

พลาสติกวัสดุเดี่ยวผลิตจากพลาสติกชนิดเดียวกันทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิล ลดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาว เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การเลือกใช้เม็ด PE หรือ PP ทั้งหมดสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้คงประสิทธิภาพคุณสมบัติของเม็ดพลาสติกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง ทนทาน แรงดัน และความยืดหยุ่น เพื่อให้การย่อยสลายหรือรีไซเคิลที่ดีกว่า และที่สำคัญมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำลง เช่น

  • เม็ดพลาสติก PE : นิยมใช้เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ
  • เม็ดพลาสติก PP : ใช้ผลิตเป็นฟิล์ม ถุงร้อน เครื่องมือการแพทย์ และภาชนะบรรจุอาหาร ฯลฯ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกกินได้

ไอเดียของพลาสติกกินได้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศกำลังมาแรง และกำลังได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเป็นการลดขยะที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ทางมลพิษ อีกทั้งสุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่ดีในอนาคต จนทำให้มีนวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น

  1. ห่วงกลมแพ็คกระป๋องเบียร์: ผลิตจากข้าวสาลี ข้าวบาร์เล่ และกากธัญพืช สามารถกินได้และย่อยสลายได้เองอย่างปลอดภัย
  2. แคปซูลหยดน้ำดื่ม: นวัตกรรมน่าสนใจที่ออกมาล่าสุดคือการผลิตบรรจุภัณฑ์คล้ายหยดน้ำใส ซึ่งเป็นสารสกัดจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล โดยวิธีใช้คือผู้บริโภคหยิบเข้าปากได้เลยทั้งอัน หรือจะทิ้งเปลือกก็ได้ โดยแคปซูลจะย่อยสลายได้เองได้ 4-6 สัปดาห์
  3. อุปกรณ์กินข้าว: หรือเรียกว่า Bakey’s เป็นอุปกรณ์ใช้รับประทานอาหาร มีทั้งช้อน ส้อม ตะเกียบ ทำมาจากข้าว ข้าวฟ่าง และข้าวสาลี สามารถย่อยสลายได้ใน 1 สัปดาห์
  4. ถุงพลาสติก Bio-Cassava: เป็นถุงพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และละลายน้ำได้ ทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง น้ำมันพืช และเรซินธรรมชาติ ใช้เวลาในการย่อยสลายอย่างปลอดภัยประมาณ 150 วัน

ประโยชน์หรือข้อดีที่ได้จากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การนำบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหรือบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้มาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้มีข้อดีเพียงแค่เรามีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่บรรจุภัณฑ์กลุ่มนี้ยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น

ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกทุกชนิดถูกออกแบบมาเพื่อลดการใช้วัสดุจากธรรมชาติให้น้อยลง โดยเน้นการใช้งานอย่างยั่งยืน พร้อมการจัดการที่ดี เช่น การใช้พลาสติกจากพืชแทนการใช้พลาสติกจากน้ำมันฟอสซิล เป็นต้น

การลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

การนำพลาสติกจากพืช หรือพลาสติกที่รีไซเคิลได้มาใช้ จะลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ทั้งปัญหาภาวะก๊าซเรือนกระจก ปัญหาขยะ รวมถึงปัญหาพลาสติกตกค้างในอากาศ แหล่งน้ำ และอาหาร

เพิ่มอาชีพและรายได้

การนำพลาสติกมารีไซเคิลหรือกลับมาใช้งานใหม่ไม่ได้ลดปัญหาขยะเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และก่อให้เกิดรายได้อีกหนึ่งช่องทาง เพราะสามารถนำพลาสติกเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ จึงทำให้พลาสติกมีมูลค่าไปในตัว

ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

การผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกจะมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนทำให้มีกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการใช้วัสดุใหม่จากธรรมชาติ และลดการใช้พลังงาน ภายใต้การนำเสนอรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ น่าสนใจ ทั้งรูปแบบหรือสีสัน ทำให้นับว่าเป็นการพัฒนาเพื่อการผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้มากขึ้นและยั่งยืนตามไปด้วย

การเลือกบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่ถูกวิธีควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์กลุ่มรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มพลาสติกนั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่แท้จริง ดังนี้

  • พิจารณาจากประเภทวัสดุพลาสติก
  • ความเหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัย และความสะดวกต่อการใช้งาน
  • คำนึงถึงต้นทุนในการนำมาใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ การกำจัด การสร้างภาพลักษณ์ต่อแบรนด์
  • บรรจุภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐานต่อสิ่งแวดล้อมสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิลและย่อยสลายได้หรือไม่
  • พิจารณาต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งที่มาจากวัสดุ กระบวนการผลิต การขนส่ง และการจำกัดในอนาคต

ข้อสรุป: ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ทุกคนรอบข้าง

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลกเป็นไอเดียที่ดีต่อการลดปัญหาขยะ มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้นจากการช่วยสร้างอาชีพ สร้างงานและสร้างเงิน เพียงแค่ทำความรู้จักนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ประเภทของบรรจุภัณฑ์พลาสติกรักษ์โลก ประโยชน์ที่ทุกคนได้รับจากการใช้พลาสติกรักษ์โลก เข้าใจวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี และการนำกลับมารีไซเคิลเพื่อใช้ใหม่มากขึ้น ดังนั้นการหันมาให้ความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนต้องร่วมมือกัน เพ

error: Content is protected !!