โดยทั่วไปแล้วน้ำยาทำความสะอาดที่เราใช้งานกันอยู่ในชีวิตประจำวัน และสามารถพบเห็นกันได้อยู่บ่อย ๆ ก็จะมีทั้งสบู่เหลว น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาถูพื้น ไปจนถึงผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ซึ่งบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้ ก็จะมีตั้งแต่เป็นขวดเล็ก ๆ ไปจนถึงแกลลอนใหญ่กันเลยทีเดียว โดยบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดเหล่านี้ ไม่ได้มีเพียงแค่การนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีประโยชน์และเรื่องที่ควรรู้ของบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดอยู่อีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่เคยได้รู้มาก่อน ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมประโยชน์และข้อมูลน่ารู้ที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดมาฝากกันค่ะ
รูปแบบและวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาด
ในปัจจุบันรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตมาจากพลาสติก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสามารถขึ้นรูปได้ง่าย ราคาไม่แพง ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีที่อยู่ในน้ำยาทำความสะอาด มีฝาปิดมิดชิดไม่รั่วซึม อีกทั้งยังสามารถพิมพ์สีและลวดลายต่าง ๆ หรือติดสติ๊กเกอร์ฉลากลงไปได้ง่าย ทำให้เรามองเห็นบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไปตามชนิดของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยมีทั้งขวดพลาสติกขนาดต่าง ๆ ขวดหัวปั๊ม ขวดสเปรย์ ไปจนถึงแกลลอนพลาสติกที่บรรจุน้ำยาทำความสะอาดได้เยอะ โดยพลาสติกที่นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดจะเป็นพลาสติกชนิด HDPE หรือพลาสติกความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ซึ่งพลาสติกชนิดนี้คือ polyethylene ชนิดความหนาแน่นสูงที่มีความยืดหยุ่นและความเหนียวดี สามารถขึ้นรูปได้ง่าย มีโครงสร้างที่แข็งแรงและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ไม่มีกลิ่น ไม่มีความเป็นพิษ โดยนอกจากจะนำมาใช้ทำขวดหรือแกลลอนบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดแล้ว พลาสติกชนิดนี้ยังนำไปใช้ทำเป็นถุงร้อนชนิดขุ่น ขวดนม บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร และบรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีอีกด้วย
ประเภทของน้ำยาทำความสะอาด
โดยทั่วไปน้ำยาทำความสะอาดนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ น้ำยาทำความสะอาดสำหรับครัวเรือน สบู่และผงซักฟอก และน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ซึ่งน้ำยาทำความสะอาดแต่ละประเภทก็มีรายละเอียดดังนี้
น้ำยาทำความสะอาดสำหรับครัวเรือน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
1) น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป (All Purpose Cleaner) เป็นน้ำยาทำความสะอาดที่สามารถใช้ขจัดคราบสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิวต่าง ๆ ได้อย่างอเนกประสงค์ อาจมีการผสม
สารฟอกขาวเพื่อช่วยกำจัดเชื้อรา ส่วนใหญ่มาในขวดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หัวเป็นสเปรย์ ที่สามารถฉีดลงบนคราบสกปรกและเช็ดทำความสะอาดได้อย่างสะดวก หรือมาในลักษณะของแกลลอนพลาสติกขนาดใหญ่ที่สามารถแบ่งใช้ได้หลายครั้ง
2) น้ำยาทำความสะอาดแบบจำเพาะเจาะจง (Specialty Cleaners) เป็นน้ำยาทำความสะอาดที่มีจุดประสงค์ทำความสะอาดคราบสกปรกแบบจำเพาะเจาะจงบนพื้นผิวประเภทต่าง ๆ เช่น จาน เครื่องแก้ว เฟอร์นิเจอร์ เตาอบ น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น
3) น้ำยาทำความสะอาดประเภทอื่น ๆ เป็นน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ เช่นแอมโมเนีย โซดาไฟ สามารถช่วยขจัดคราบที่เป็นกรดบางประเภทได้ดี
- สบู่และผงซักฟอก มีหน้าที่ในการขจัดสิ่งสกปรก ลดความกระด้างและแรงตึงผิวของน้ำ โดยทั่วไปมักนิยมผสมส่วนผสมอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัตินอกเหนือไปจากการทำความสะอาด เช่น ส่วนผสมที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ไขปัญหาผิว ฆ่าเชื้อ หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดที่ล้ำลึกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการใส่น้ำหอมเพื่อแต่งกลิ่น เป็นต้น
- น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ เป็นสารในกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ทั้งเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรือฆ่าเชื้อไวรัส ที่นิยมนำมาใช้กันในบ้านเรือน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสารในกลุ่มคลอโรโซลินอล เช่น น้ำยาเดทตอลฉลากมงกุฎ รวมไปถึงน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์หรือสารฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์, คลอร็อกซ์ เป็นต้น
มาตรฐานและการเลือกใช้งานขวดบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาด
การเลือกใช้ขวดบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาด จำเป็นที่จะต้องพิจารณาดูจากคุณสมบัติและชนิดของน้ำยาทำความสะอาดว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น การเลือกขวดน้ำยาล้างจาน อันดับแรกต้องดูในเรื่องของคุณสมบัติของน้ำยาล้างจานกันก่อน ซึ่งน้ำยาล้างจานเป็นสารเคมีที่มีลักษณะเปียกและลื่น สามารถเกิดฟองได้ มีประโยชน์ในการชำระล้างคราบมันและคราบสกปรกได้อย่างหลากหลาย ถ้าหากเลือกขวดบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดสำหรับน้ำยาล้างจานได้ไม่ดีหรือไม่เหมาะสม เมื่อมีการใช้งานก็อาจจะทำให้น้ำยาล้างจานที่อยู่ด้านในนั้นหกเลอะเทอะ ซึ่งอาจทำให้สินค้าได้รับความเสียหายตั้งแต่ในขั้นตอนการขนส่งได้เลยทีเดียว หรือหยิบจับมาใช้งานได้ไม่สะดวก ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกบรรจุภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดของน้ำยาล้างจาน จึงมีดังนี้
- เลือกขวดน้ำยาล้างจานที่ผลิตมาจากพลาสติกคุณภาพดี มีความแข็งแรงทนทาน โรงงานที่ผลิตได้มาตรฐาน สามารถนำไป Reuse หรือ Recycle ได้ รวมไปถึงสามารถเก็บขวดเอาไว้เพื่อเติมน้ำยาล้างจานแบบรีฟิลใช้งานต่อได้โดยที่ไม่ต้องซื้อขวดใหม่
- เลือกใช้ขวดน้ำยาล้างจานแบบขวดพลาสติกฝาปิดป๊อกแป๊ก เพราะสามารถเปิดปิดใช้งานได้ง่ายและป้องกันการหกเลอะเทอะหรือซึมของน้ำยาล้างจานได้ดี ขวดแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของขวดน้ำยาล้างจานที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันกันเลยทีเดียว
- เลือกใช้ขวดน้ำยาล้างจานที่มีขนาดและความจุเหมาะสมสำหรับการใช้งาน เช่นขวดขนาด 250 cc. – 800 cc. เป็นปริมาณที่เหมาะสำหรับการใช้งานในครัวเรือน หรืออาจเลือกซื้อเป็นขวดแกลลอนพลาสติกซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานในปริมาณมาก สามารถแบ่งใช้ได้หลายครั้ง
- สติ๊กเกอร์สำหรับติดอยู่บนขวดน้ำยาล้างจาน ควรเลือกสติ๊กเกอร์ที่สามารถกันน้ำได้ เนื่องจากน้ำยาล้างจานนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ใกล้น้ำและเปียกน้ำเสมอเมื่อใช้งาน โดยอาจใช้เป็นสติ๊กเกอร์ PVC ธรรมดา, สติ๊กเกอร์ PVC แบบใส, สติ๊กเกอร์พีพี ซินเทติกแบบใส หรือสติ๊กเกอร์พีพี ซินเทติกสีขาว สติ๊กเกอร์เหล่านี้มีคุณสมบัติกันน้ำและสามารถเกาะติดอยู่กับขวดบรรจุภัณฑ์ได้ดี มีความสวยงามและไม่หลุดลอก
- เมื่อใช้น้ำยาล้างจานจนหมดแล้ว ขวดน้ำยาล้างจานสามารถนำไปรีไซเคิลหรือนำมา DIY เป็นของใช้และของตกแต่งบ้านเอาไว้ใช้งานกันได้ เป็นการช่วยลดปริมาณขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง
การใช้ประโยชน์จากขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้แล้ว
ขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ที่ใช้หมดแล้ว แนะนำว่าอย่าทิ้ง เพราะเราสามารถใช้ประโยชน์จากขวดบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างหลากหลาย เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเราสามารถนำขวดบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
- เก็บรวบรวมและคัดแยกขวดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปขาย วิธีนี้นอกจากจะเป็นการนำเอาพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณขยะและได้เงินจากการขายขวดบรรจุภัณฑ์มาใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ กันอีกด้วย
- เก็บรวบรวมขวดบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปบริจาคยังหน่วยงานที่รับบริจาคขวดพลาสติก ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิกระจกเงา, โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network – TRBN), โครงการ Precious Plastic Bangkok, โครงการผ้าบังสกุลจีวรจากขวดพลาสติกรีไซเคิล วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นต้น
- ประดิษฐ์อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ จากขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้แล้ว หากคุณมีไอเดียและมีฝีมือรวมไปถึงเวลาว่าง อาจลองเปิดหาคลิป DIY ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทำมาจากขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดใช้แล้ว เช่น ขวดหรือแกลลอนน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาถูพื้น ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น แต่ก่อนที่จะนำขวดบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ไปประดิษฐ์เป็นข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ควรที่จะทำความสะอาดเพื่อให้น้ำยาทำความสะอาดที่ติดอยู่กับขวดบรรจุภัณฑ์ออกไปให้หมดเสียก่อน
ไอเดียการ DIY จากขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาด
สำหรับไอเดียการ DIY สิ่งของต่าง ๆ จากขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้แล้ว ที่น่าสนใจและทำได้ไม่ยากก็มีดังนี้
- ทำกล่องเก็บอุปกรณ์บนโต๊ะทำงาน เราสามารถใช้แกลลอนพลาสติกหรือขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาด มาตัดแต่ง ทาสี สำหรับใช้เป็นกล่องเก็บอุปกรณ์สำหรับเครื่องเขียนและข้าวของกระจุกกระจิกบนโต๊ะทำงานได้
- ทำกระถางต้นไม้ เราสามารถเลือกขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีขนาดใหญ่มาตัดและทาสีให้สวยงาม พร้อมเจาะรูด้านล่างสำหรับระบายน้ำ นำไปใช้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เพียงเท่านี้ก็ได้กระถางต้นไม้สวย ๆ เอาไว้ตกแต่งบ้านกันแล้ว
- ทำอุปกรณ์จัดเก็บภายในครัว เราสามารถนำขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้แล้ว มาตัดแต่งเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวให้เป็นระเบียบ เช่น ทำเป็นที่คว่ำช้อนส้อม ที่วางฟองน้ำล้างจาน หรือนำมาใช้เป็นขวด Reuse เพื่อใส่ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแบบ Refill ใช้งานต่อก็ได้
โดยเราสามารถมองหาไอเดียสำหรับ DIY ขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบนหน้าเว็บไซต์ Social Media หรือคลิปต่าง ๆ ใน YouTube เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ขวดบรรจุภัณฑ์ทำความสะอาดนั้น ควรที่จะต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทานต่อสารเคมี ใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงได้มาตรฐานจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน และสามารถเปิดปิดใช้งานได้ง่าย ซึ่งถ้าหากเลือกใช้ขวดบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสวยงาม นอกจากจะทำให้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของคุณนั้นดูน่าใช้แล้ว ยังสามารถนำขวดบรรจุภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์หรือรีไซเคิลได้ต่อ ทำให้เราสามารถลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมลงได้อีกด้วย